ตาล้า (Eye-fatigue)

ตาล้า eye-fatigue

ตาล้า อาการยอดนิยมของคนยุคดิจิทัล ในยุคสังคมดิจิทัลแบบนี้ บอกได้เลยว่าเป็นยุคที่คนส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจอมือถือกันอยู่ตลอด อย่างเลี่ยงไม่ได้ 

หากลองคำนวณกันเล่น ๆ ดูสิว่า ในหนึ่งวัน คุณใช้เวลาไปกับหน้าจอมือถือวันละกี่ชั่วโมง ?

พราะในแต่ละวันเราต่างต้องใช้สายตาไปกับหน้าจอมือถือวันละหลาย ๆ ชั่วโมง ยังไม่นับจอดิจิทัลอื่น ๆ เคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราใช้เวลาอยู่หน้าจอเหล่านี้นานๆ มักจะมีอาการปวดหัว ปวดตา แสบตา ตาแห้ง หรือเมื่อยล้าดวงตา เกิดขึ้น หลายคิดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอที่มาทำร้ายดวงตา เพียงอย่างเดียว  แต่แท้จริงแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดตา ตาล้าเหล่านี้ เกิดจาก “การเพ่งระยะใกล้” 

เพราะเวลาที่เราใช้สายตาในการจ้องจอเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการเพ่งโดยไม่รู้ตัว บางทีเราก็เผลอโฟกัส จอมากเกินไป พอสายตาเริ่มเบลอจึงต้องเพ่งเพื่อให้ดวงตาโฟกัสมากขึ้น จากนั้นเราจะเริ่มกระพริบตาน้อยลง ทำให้เกิดอาการตาแห้ง แสบตา ตาเบลอ มองไม่ชัด กล้ามเนื้อตาเริ่มทำงานหนักโดยไม่รู้ตัว จนเกิดเป็นอาการตาล้า ลามไปถึงอาการปวดตาและปวดหัวนั่นเอง เนื่องจากแสงและการเพ่งมอง ที่เกินขีดจำกัดที่ดวงตาจะสามารถรับไหว 


สาเหตุอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดอาการตาล้าได้


o ใช้สายตาในการทำงานหน้าจอมือถือ แท็บเลต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป

เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของคนส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการตาล้า โดยเฉพาะคนวัยทำงาน ที่นอกจากจะต้องใช้สายตาในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันแล้ว นอกเวลางานก็ต้องใช้สายตาไปกับมือถือแทบจะตลอดเวลา เมื่อเราต้องจ้องจอนานๆ จึงทำให้เรารู้สึกไม่สบายตาและอาจทำให้เกิดอาการปวดตา ตาล้าและปวดหัวตามมา รวมถึงแสงจ้าจากหน้าจอ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตา แสบตา พร้อมทั้งมีอาการระคายเคืองร่วมด้วย 


o ขับรถติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

โดยเฉพาะการขับรถกลางคืน ที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองเป็นพิเศษ


o อ่านหนังสือติดต่อกันนาน

เมื่อใช้สายตาจ้องตัวหนังสือระยะใกล้เป็นเวลานาน ทำให้ดวงตาทำงานหนัก สายตาเริ่มอ่อนล้า รวมถึงมองเห็นภาพเบลอ ทำให้ต้องขยับหนังสือเข้าใกล้มากขึ้น


ด้วยพฤติกรรมการใช้สายตาเหล่านี้จึงส่งผลให้เราเริ่มกระพริบตาน้อยลง เริ่มเกิดอาการแสบตา ไม่สบายดวงตา ตาแห้ง เริ่มมีอาการตาเบลอ จนต้องเพ่งโฟกัสมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักและเกร็งตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ทำให้ต้องดึงกำลังของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตามาช่วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตามมา

นอกจากสาเหตุของพฤติกรรมการใช้สายตาที่ทำให้เกิดอาการตาล้าได้แล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอาการตาล้าได้เช่นกันก็คือภาวะความบกพร่องทางสายตา เช่น สายตาเอียง  สายตาสั้น หรือสายตายาว 

เราควรคอยสังเกตุอาการและพฤติกรรมการใช้สายตาเพื่อหาทางแก้ไขหรือป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตา

วิธีบรรเทาอาการตาล้าง่ายๆ ให้กิจกรรมของคุณลื่นไหลไม่มีสะดุด 

วิธีการรักษาและบรรเทาอาการตาล้าเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ ก็คือ 

o พักสายตา-กระพริบตาให้บ่อยขึ้นเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้คลายตัว  สามารถทำได้ด้วยมองไกลหรือเปลี่ยนระยะการมองไปที่วัตถุอื่นประมาณ 20 ฟุต เป็นการลดการโฟกัสของดวงตาในช่วงเวลาที่พักสายตา เพื่อผ่อนคลายดวงตาจากอาการล้า
o ปรับแสงสว่างจากจอให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมพอดี ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป

o ปรับขนาดตัวหนังสือให้สามารถอยู่ในขนาดที่อ่านได้สบายสายตา ไม่ต้องเพ่งจนเกินไป

o แสงสว่างจากรอบบริเวณก็เป็นสิ่งสำคัญมีความเหมาะสม

นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้สายตาและสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาการตาล้า สำหรับบางคนที่จำเป็นต้องใช้สายตากับหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็สามารถหาตัวช่วยเพื่อป้องกันอาการตาล้าได้เช่นกัน 

ด้วยการสวมใส่แว่นตา โดยเลือกเลนส์ที่มีคุณสมบัติสำหรับการใช้สายตาในระยะใกล้ เพื่อช่วยบรรเทาและผ่อนคลายความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา ก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมากๆในปัจจุบัน เลนส์ลดอาการตาล้าจะช่วยแบ่งเบาภาระของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่งมอง และช่วยให้เปลี่ยนระยะโฟกัสนุ่มนวล และรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น



RELATED ARTICLES