สายตาเอียง Astigmatism คืออะไร ?

 

หลายคนมีความเข้าใจผิด ๆ ว่า อาการสายตาเอียงคืออาการของการมองเห็นภาพเอียง
ขีดเส้นเบี้ยว เขียนหนังสือไม่ตรง แต่จริง ๆ แล้วสายตาเอียง ไม่ได้มีลักษณะอาการตามชื่อ สายตาเอียง ของมันแต่คืออาการเห็น

 

ภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือภาพไม่ชัดเจน


แล้วทำไมถึงมีภาวะสายตาเอียง

สายตาเอียงมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตาที่มีลักษณะโค้งไม่เท่ากัน ไม่โค้งกลม หรือมีรูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม ทำให้การโฟกัสแสงของดวงตามีปัญหา จนเกิดการหักเหของแสงที่ผิดพลาด ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น เพราะเมื่อกระจกตาหรือเลนส์ตามีความผิดปกติ เวลาที่เรามองวัตถุ จะเกิดการหักเหของแสงสะท้อนเป็นจุดโฟกัส 2 จุด ที่ไม่รวมเป็นภาพเดียว  จึงทำให้เกิดการมองเห็นภาพที่ผิดเพี้ยนไป 

ส่งผลให้ผู้มีสายตาเอียงมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพเบลอ ภาพซ้อนหรือเงาซ้อน มองอักษร ตัวเลขไม่ชัด หรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งในระยะใกล้หรือระยะไกล บางครั้งอาจมีความรู้สึกว่าตาพร่าและมองเห็นภาพขนาดเล็กหรือสีเข้มได้ยากอาการเหล่านี้นอกจากจะส่งผลต่อการมองเห็นแล้วยังส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว ปวดตา ตามมาด้วย


แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ ?

5 วิธีสังเกตว่าคุณเริ่มมีภาวะอาการสายตาเอียงง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 

1.มีอาการตาพร่า ล้า จากการอ่านหนังสือหรือจ้องจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์

2.มองเห็นภาพมีเงา หรือภาพซ้อน ไม่ชัดอยู่ตลอด

3.มีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เมื่อต้องเพ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นระยะเวลานาน ๆ

4.เห็นแสงไฟฟุ้งในเวลากลางคืน

5.มีอาการตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ เนื่องจากการดวงตารับจุดโฟกัสแสงหลายจุดพร้อมกันมากเกินจน ไป จึงทำให้เกิดอาการแพ้แสงขึ้นได้

โดยส่วนใหญ่อาการสายตาเอียงมักเกิดร่วมกับภาวะปัญหาสายตาชนิดอื่นด้วยเสมอ เช่น สายตาสั้น และสายตายาว ทำให้ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงมีอาการตามัวได้มากกว่าสายตาผิดปกติชนิดอื่น


อาการสายตาเอียงนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตาแล้ว ยังพบปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น

o เกิดจากกรรมพันธุ์หรือเป็นแต่กำเนิด

o เกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนดวงตาหรือหลังการผ่าตัด

o พฤติกรรมส่งผลให้กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ช่วยในการมองนั้น ทำงานไม่เท่ากันในแต่ละแนว เช่น มักนอนตะแคงดูโทรทัศน์ ทำให้เกิดภาวะสายตาเอียงได้ในขณะนั้น และอาจส่งผลต่อเนื่องได้ในบางคน

o ผู้ที่เป็นโรคกระจกตาย้วย (Keratoconus) ทำให้กระจกตาไม่โค้งกลม เปลี่ยนเป็นรูปทรงกรวย


วิธีการรักษาและแก้ไขปัญหาสายตาเอียง

การรักษาสายตาเอียง มีให้เลือกหลากหลายวิธีด้วยกันโดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของผู้มีภาวะสายตาเอียง

o สวมใส่แว่นสายตา เป็นวิธีที่ปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อยเนื่องจากไม่มีการสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงควรเข้ารับการตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดกับผู้เชี่ยวชาญหรือนักทัศนมาตร เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อใช้ในการตัดเลนส์สายตาที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานที่สุด
(โดยเลือกใช้เลนส์ที่มีโครงสร้างแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาเอียงสูง)





o สวมใส่คอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียงโดยเฉพาะ ถือเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นที่นิยม ปัจจุบันมีคอนแทคเลนส์สำหรับผู้มีปัญหาสายตาเอียงโดยเฉพาะออกมาให้เลือกใช้มากมาย ทั้งแบบรายวัน รายเดือน หรือรายสองสัปดาห์ แต่ในการเลือกค่าสายตาสำหรับคอนแทคเลนส์ ไม่เพียงแต่ต้องรู้ค่าสายตาที่เอียงเท่านั้น ควรรู้องศาของสายตาเอียงด้วยเช่นกัน ถึงจะเลือกซื้อคอนแทคเลนส์สายตาเอียงได้อย่างถูกต้องเหมาะกับค่าสายตา 


o การผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาเอียง เช่นการทำเลสิกหรือพีอาร์เค เป็นการผ่าตัดรักษาสายตาเอียงแบบถาวร 





RELATED ARTICLES