ตาแพ้แสง ไวต่อแสง

“ตาไม่สู้แสง ระคายเคืองดวงตา ต้องหรี่ตาเลี่ยงบ่อย ๆ เมื่อเจอแสงแดด หรือแสงไฟ”
คุณกำลังเจอกับอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า


ลองสังเกตตัวเองกันดูว่าคุณมีเช็คลิสอาการเข้าข่ายมีภาวะตาแพ้แสงหรือไม่

O จ้องจอมือถือหรือคอมพ์นาน ๆ แล้วเมื่อละสายตาไปเจอแสงอื่น ๆ มักต้องหรี่ตาหลบเพราะสู้แสงไม่ได้

O เมื่อเจอแสงแดดมักจะทนไม่ได้ ระคายเคืองดวงตากว่าปกติ 

O มีอาการแสบตา น้ำตาไหล ปวดตา ทุกครั้งที่ต้องมองแสง

O ต้องคอยหลับตา พักสายตาถี่ ๆ จนส่งผลกระทบต่อบุคลิก เมื่อเจอแสงทั้งจากแสงธรรมชาติและแสงจอดิจิทัล


แล้วตาแพ้แสงอันตรายไหม มีวิธีรักษาหรือไม่ มาทำความรู้จักกับตาแพ้แสงกัน

ตาแพ้แสง หรือ Photophobia คือ ภาวะที่ดวงตาไวต่อแสง มีอาการทนแสงไม่ได้กว่าปกติ ทั้งแสงจากธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ หรือแสงจากดวงไฟ จอมือถือ จอดิจิทัล ซึ่งโดยทั่วไปดวงตาคนเราจะสามารถรับแสงและทนต่อแสงได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อดวงตามีอาการแพ้แสง ดวงตาจะอ่อนแอลงกว่าปกติ ทำให้มีอาการดวตาอักเสบ ระคายเคืองดวงตา รู้สึกดวงตาแห้งแสบเมื่อเจอแสง ซึ่งอาการของตาแพ้แสงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย


แล้วสาเหตุของตาแพ้แสงล่ะ เกิดจากอะไรได้บ้าง

o สาเหตุที่เกิดจากดวงตาของเราเอง เช่น เยื่อบุตาหรือม่านตาอักเสบ ความผิดปกติของกระจกตา ตาแห้ง ส่งผลกระทบต่อดวงตาเมื่อเจอแสง ดวงตาจึงมีอาการแสบตา ระคายเคือง

o สาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองที่ทำบ่อย ๆ จนสะสม และเกิดอาการตาแพ้แสงในที่สุด เช่น พฤติกรรมการจ้องจอ แสง นาน ๆ และกระพริบตาน้อยกว่าปกติ ซึ่งโดยธรรมชาติคนเรามักกระพริบตา 15-20 ครั้งต่อนาที เพราะเมื่อเรากระพริบตาน้อยลง แต่มีการเพ่งที่มากกว่าปกติ จะทำให้ดวงตาทำงานหนัก และดวงตาแห้ง จนขาดความชุ่มชื้น เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองดวงตา ตาพร่า แสบตา เมื่อเจอแสง

o สาเหตุที่เกิดจากโรค เช่น โรคไมเกรน เพราะอาการของโรคไมเกรนมักมีอาการของตาแพ้แสงร่วมด้วย 


วิธีการดูแลและรักษาเมื่อมีอาการดวงตาแพ้แสง

o หมั่นกระพริบตาบ่อย ๆ ให้น้ำตาหลั่งมาเคลือบผิวกระจกตา ให้มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอด

o ควรพักสายตาทุก ๆ 30 นาที เมื่อต้องใช้สายตากับหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน และปรับระดับสายตาให้พอดีไม่อยู่ใกล้หรือเพ่งจนเกินไป เมื่อรู้สึกตาเริ่มล้า สามารถพักสายตาด้วยการมองไกล  

o ใส่แว่นกันแดดหรือแว่นกรองแสงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับแสงแดดโดยตรง

ใช้น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยให้ความชุ่มชื้น

o รับประทานวิตามินที่มีส่วนช่วยในการบำรุงดวงตา

o หากมีอาการแพ้แสงที่หนักขึ้นหรือทนไม่ไหว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

RELATED ARTICLES